เพิ่มเพื่อน

ประวัติ

ประวัติ

การพบรอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏจังหวัดจันทบุรี มีการพบโดยบังเอิญของกลุ่มพรานกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีชื่อประกฎคือ นายติ่ง นายนำ นายปลิ่ม นามสกุล สิงขรบาท ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๗ กลุ่มนายติ่ง และคณะได้ขึ้นไปหาของป่า ซึ่งเมื่อขึ้นไปจะต้องไปทำแค้มที่พัก เพราะต้องไปค้างแรมบนเขาครั้งละหลายๆวัน การขึ้นไปครั้งนี้นายติ่งและคณะเกิดหลงป่า พยายามอยู่หลายครั้งก็ไม่สามารถหาทางกลับที่พักได้ และจะออกมาที่เดิมคือบริเวณลานหิน(รอยพระบาทในปัจจุบัน) สมัยนั้นลานบาทไม่ลาดเอียงเหมือนปัจจุบัน ที่สุดนายติ่งและคณะก็นั่งพักและปรึกษากันถึงสาเหตุการหลงป่า ในขณะที่นั่งพักนั้นก็ไปนั่งตรงบริเวณที่เป็นรอยพระบาทในปัจจุบัน สมัยนั้นบริเวณดังกล่าวจะมีหญ้างอกขึ้นในจุดที่เป็นรอยพระพุทธบาท ขณะที่ไปนั่งพักกันนั้น คนในกลุ่มก็ไปเจอแหวนนาคเข้าวงหนึ่ง นายติ่งก็คิดว่าใครเอาของมีค่ามาซุกซ่อนไว้ตรงนี้ จึงช่วยกันค้นหา แต่ก็ไม่พบ จึงมาพิจารณาตรงบริเวณที่นั่ง เห็นมีหญ้างอกขึ้นเพียงจุดเดียว จึงช่วยกันถอนหญ้าและทำความสะอาด หวังจะพบของมีค่าบ้าง แต่ก็ไม่พบของมีค่าอะไร แต่สิ่งที่พบกลับเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ ในขณะนั้นนายติ่งและคณะไม่มีความรู้เรื่องรอยพระพุทธบาท จึงคิดไปว่าน่าจะเป็นรอยท้าวของผู้มีฤทธิ์ จากนั้นก็เกิดความกลัวว่าจะมีโทษเกิดขึ้นไปเพราะไปหยิบเอาของมีค่าเขาออกมา จึงพากันขอขมาต่อรอยเท้านั้น จากนั้นจึงพากันบอกกล่าวขอให้รอยท้าวขอผู้ศักดิ์สิทธิ์นี้จงช่วยดลบันดาลให้ ตนและคณะกลับที่พักได้ด้วยเถิด ซึ่งก็น่ามหัศจรรย์ นายติ่งและคณะสามารถหาทางกลับที่พักได้อย่างง่ายดาย จากนั้นจึงพากันเดินทางกลับลงไปด้านล่างตามปกติ ต่อมาภายหลังนายติ่งและคณะมีลูกหลานที่อายุครบบวช จึงได้พาลูกหลานของตนไปฝากวัด โดยไปฝากที่วัดพลับ ซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองในขณะนั้น(สมัยนั้นยังไม่มีวัดเหมือนปัจจุบัน) พอครบกำหนดงานบวช ก็พาญาติพี่น้องไปร่วมงานบวช การเดินทางในสมัยนั้นจากบ้านพลวงถึงวัดพลับ ต้องใช้เวลาในการเดินทางถึงสองวัน หลังจากไปร่วมงานบวชเสร็จก็ต้องค้างแรมที่วัดพลับนั้น ประจวบกับที่วัดพลับมีการจัดงานบุญประจำปี นายติ่งและญาติพี่น้องก็ไปร่วมงานบุญ และร่วมปิดทองรอยพระบาทจำลอง ขณะที่ปิดทองรอยพระบาทจำลองนั้น ก็พิจารณารอยพระบาทจำลองไปด้วย และก็นึกขึ้นได้ว่าตนเองเคยพบรอยเท้าซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แต่ที่พบบนเขาจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า จึงพากันปรารภพูดคุยเรื่องที่ตนไปพบรอยท้าวที่บนยอดเขา ที่สุดความก็ทราบไปถึงหลวงพ่อเพชร ท่านพ่อเพชรจึงได้เรียกนายติ่งและคณะเข้าไปสอบถามเรื่องราว ที่นายติ่งได้กล่าวว่า ได้เคยพบรอยพระบาทบนยอดเขา นายติ่งก็เล่าสิ่งที่ตนเองได้พบให้ท่านพ่อเพชรได้ฟัง เมื่อท่านพ่อเพชรฟังแล้วก็จนใจเป็นอย่างมาก จึงได้ปรึกษากับนายติ่งและคณะว่า ถ้าหลวงพ่อและคณะพร้อมเมื่อใดจะนำกันไปหา และขอให้นายติ่งและคณะได้นำท่านพ่อเพชรและคณะเพื่อขึ้นไปบนเขาตรงที่นายติ่ง ได้พบรอยเท้าที่มีความเหมือนกับรอยพระพุทธบาทจำลองของวัดพลับ ต่อมาท่านพ่อเพชรจึงได้นำคณะของท่านไปพบนายติ่ง จากนั้นนายติ่งและพวก ก็นำท่านพ่อเพชรและคณะขึ้นไปบนเขา เพื่อจะไปพิสูจน์ว่าเป็นจริงดังที่นายติ่งได้พูดหรือไม่ 

ในสมัยแรกๆผู้คนยังขึ้นไม่มาก พอว่างๆ ท่านพ่อเขียนก็จะนำผู้แสวงบุญขึ้นไปสักการะสถานที่ด้านบน (ลานอิน) เช่น บาตรพระอานน บาตรพระโมคคัลลานะ บาตรพระสารีบุตร และสถานที่อื่นๆจนสุดเขต ที่ท่านเรียกว่าสุดเขตแดนพุทธชาด แล้วก็พาญาติโยมกลับ ต่อมาภายหลังผู้แสวงบุญขึ้นไปมาก ท่านจึงไม่มีเวลาที่จะพาญาติโยมขึ้น ดังนั้นใครจะขึ้นก็ต้องขึ้นกันไปเอง จึงทำให้คนบางกลุ่มเดินเลยเขตุที่กำหนดและหลงป่า ท่านพ่อเขียนจึงให้ลูกศิษย์ทำแผ่นผ้าสีแดง แล้วเขียนไว้ที่ผ้าว่า “ห้ามผ่าน” ต่อมาเมื่อใครจะขึ้นมาด้านบน ท่านพ่อก็จะบอกให้ทราบว่า เมื่อขึ้นมาสุดเขตแล้วจะเห็นผ้าสีแดงที่เขียนไว้ว่า ห้ามผ่าน นั่นคือจุดสิ้นสุดของการเดินทาง ให้กลับลงมา จากนั้นคนที่ขึ้นไปก็ไม่มีใครหลงป่าอีก แต่ด้วยผู้ที่ขึ้นไปต้องใช้กำลังเป็นอย่างมาก เมื่อไปถึงจุดสูงสุดก็มักจะจารึกอักษรไว้ที่ผ้าแดง ขอพรไว้ว่า “สาธุข้าพเจ้าได้เดินทางมาถึง แล้ว ขอให้ รวย รวย รวย” เมื่อคนขึ้นมาทีหลังมาพบเห็นข้อความเข้าก็อยากเขียนไว้บ้าง เขียนไปเขียนมา เกิดมีคนที่ไปขอพร ถูกรางวัลที่หนึ่งเข้า เลยดังขึ้นมา ปัจจุบันจึงเป็นอีกสถานที่ๆใครๆก็อยากขึ้นไปให้ถึง

ที่มาของ “เขาคิชฌกูฏ”

จากการที่ท่านพ่อเขียนได้ไปประเทศอินเดีย เพื่อไปสักการะบูชาสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรม และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งต้องใช้เงินในการเดินทางเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ศรัทธาแต่ขาดทุนทรัพย์ไม่สามารถไปได้ จึงพิจารณาถึงสถานที่บนเขาคิชฌกูฏ ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่าเขาพลวง เพราะตามน้ำตกลำธารต่างมีๆปลาพลวงอาศัยอยู่มาก มีสถานที่ๆมีหลายสิ่งที่คล้ายกับที่ประเทศอินเดีย ท่านจึงขอเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เหมือนกับเขาคิชฌกูฏในประเทศอินเดีย จึงตั้งชื่อว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถไปประเทศอินเดียได้ระลึกถึงสถานที่ สังเวทนียสถานสี่ตำบล ขณะขึ้นมานมัสการรอยพระพุทธบาท (ขอขอบคุณข้อมูลจาก facebook.com/เขาพระบาทพลวง-จันทบุรี

คณะของนายติ่งนำท่านพ่อเพชรและคณะขึ้นไปถึงยังจุดดังกล่าว และพักผ่อนกันพอสมควรแล้ว จึงเข้าไปสำรวจดูตรงบริเวณดังกล่าว ซึ่งก็น่ามหัศจรรย์เพราะมีหินก้อนใหญ่ตั้งเด่นตระหง่านอยู่บนแผ่นหินขนาด ใหญ่ จากนั้นก็ไปสำรวจดูที่บริเวณรอยท้าว ท่านพ่อเพชรและคณะได้พิจารณากันอย่างถี่ถ้วน ตามหลักของพระศาสนา ทั้งหมดก็ลงความเห็นว่า เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ท่านพ่อเพชรจึงปรารภกับทุกคนว่า เป็นบุญลาภของชาวจันทร์ที่ได้มีสิ่งอันล้ำค่าอย่างนี้ จากนั้นจึงพากันกราบไหว้ ด้วยความปลาบปลื้มใจ และพากันเดินทางกลับ

ท่านพ่อเพชรผู้นำประเพณีครั้งแรก

จากนั้นในทุกๆปีท่านพ่อเพชรและคณะลูกศิษย์จะพากันขึ้นมากราบไหว้รอยพระ พุทธบาททุกปีๆละครั้ง จึงถือได้ว่าหลวงพ่อเพชรเป็นพระสงฆ์ที่ได้นำพาให้เกิดประเพณีของการกราบไหว้ บูชารอยพระพุทธบาท แต่ในสมัยนั้นไม่มีคนรู้จักแพร่หลายเหมือนยุคปัจจุบัน(ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าเขาพลวง)

ประเพณียุคแรก

ต่อมาภายหลังได้มีการสืบทอดกันมายุคต่อยุค บางครั้งก็มีก็เป็นญาติโยมพากันมาเอง ในยุคแรกจากการพบและท่านพ่อเพชรได้นำขึ้นมากราบไหว้ในระยะแรกประมาณร้อยปี ต้นๆไม่ทราบแน่ชัดนักว่าทำกันอย่างไร

ยุคท่านพ่อเขียน

ท่านพ่อเขียนอธิษฐานบารมี

หลังจากได้รับหน้าที่ในการเป็นประธาน ท่านพ่อเขียนได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ท่านได้ขึ้นมาบำเพ็ญเพียรอยู่ตรงบริเวณเพิงหินที่ประดิษฐานหมอชีวกโกมารภัทร จากนั้นได้ไปอธิษฐานขอพรที่รอยพระพุทธบาทว่า “ถ้าตัวหลวงพ่อมีบารมีที่จะพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้เจริญได้แล้ว ขอความสำเร็จสามประการ คือ น้ำไหล ไฟสว่าง หนทางสะดวก” จากนั้นก็เริ่มพัฒนาสถานที่โดยเริ่มการทำทางขึ้นสู่ยอดเขา ใช้เวลาทำทางอยู่หลายปี โดยอาศัยญาติโยมศิษยานุศิษย์ที่มีศรัทธาและวัดต่างๆ ใช้เวลาทำทางถึง ๗-๘ ปี จนมาถึงบริเวณลานพระสิวลี ซึ่งมีหนทางที่ลาดชันมากไม่สามารถที่จะทำทางรถได้ จึงได้ปรึกษากันว่า ให้ทำเป็นทางเท้าให้ผู้แสวงบุญเดิน ที่สำคัญเป็นการพิสูจน์ศรัทธา ต้องมีศรัทธาที่มั่นคง จึงจะขึ้นไปได้ จากนั้นได้พัฒนาระบบน้ำระบบไฟฟ้า จนเกิดความสะดวกสบายจนถึงปัจจุบัน

นิมิตปรากฏขณะเจริญจิตภาวนา

ท่านพ่อเขียนได้เล่าให้ฟังสมัยตอนทำทางขึ้นสู่ยอดเขาประมาณปีที่ ๓ เกิดปัญหาไม่สามารถจะทำได้เพราะความลาดชันของภูเขา ตลอดจนถึงหุบเหวลึก คณะศิษย์ที่มาช่วยงานต่างถอดใจ ที่สุดก็ต้องหยุดการทำงานลงชั่วขณะ แต่ท่านพ่อเขียนก็ไม่ย่อท้อ ขึ้นไปบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ ที่ลานบาท ท่านเล่าให้ฟังว่าหลังจากบำเพ็ญเพียรเสร็จก็นอนพัก เกิดนิมิตเห็นผู้ชายใส่ชุดขาว มาเดินนำหน้าและชี้ช่องทางให้ทำทางมาตามทางดังกล่าวจะสามารถทำทางขึ้นมาได้ พอรุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ ท่านก็พาลูกศิษย์ออกสำรวจไปตามนิมิตนั้น ก็พบช่องทางที่สามารถจะทำทางได้ จึงได้แจ้งข่าวลงไปด้านล่าง จากนั้นคณะศิษย์และครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็พาชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา ขึ้นมาเพื่อทำทางกันต่อ

พร้อมกันนี้ท่านพ่อเขียนยังเล่าถึงสถานที่หลายๆจุด เช่น บาตรพระอานน บาตรพระโมคคัลลา บาตรพระสารีบุตร เสมาธรรมจักร พระนอน ฯ ทั้งหมดนี้ปรากฏในนิมิตทั้งสิ้น ท่านค้นหาจนพบและตั้งชื่อให้สอดรับกับประวัติในพระศาสนา

ที่มาของผ้าแดง

ในสมัยแรกๆผู้คนยังขึ้นไม่มาก พอว่างๆ ท่านพ่อเขียนก็จะนำผู้แสวงบุญขึ้นไปสักการะสถานที่ด้านบน (ลานอิน) เช่น บาตรพระอานน บาตรพระโมคคัลลานะ บาตรพระสารีบุตร และสถานที่อื่นๆจนสุดเขต ที่ท่านเรียกว่าสุดเขตแดนพุทธชาด แล้วก็พาญาติโยมกลับ ต่อมาภายหลังผู้แสวงบุญขึ้นไปมาก ท่านจึงไม่มีเวลาที่จะพาญาติโยมขึ้น ดังนั้นใครจะขึ้นก็ต้องขึ้นกันไปเอง จึงทำให้คนบางกลุ่มเดินเลยเขตุที่กำหนดและหลงป่า ท่านพ่อเขียนจึงให้ลูกศิษย์ทำแผ่นผ้าสีแดง แล้วเขียนไว้ที่ผ้าว่า “ห้ามผ่าน” ต่อมาเมื่อใครจะขึ้นมาด้านบน ท่านพ่อก็จะบอกให้ทราบว่า


13 พฤศจิกายน 2561

ผู้ชม 2042 ครั้ง

Engine by shopup.com